หลักการจัดดอกไม้สด

หลักการจัดดอกไม้สด

ความรู้เกี่ยวกับ "การจัดดอกไม้สด"
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการจัดดอกไม้สด
การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการจัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้จากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรงแนวดิ่ง ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉากทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงพระจันทร์คว่ำ ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการจัดดอกไม้สด

3. การจัดดอกไม้แบบสมัยใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบอิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์ สัดส่วนและความสมดุลด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการจัดดอกไม้สด

การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด
1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที – 2 ชั่วโมง
 2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
 3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
 4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
 5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว

หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ
2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ
3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน
ขอบคุณข้อมูลจากแหล่งที่มา: trueplookpanya.com


วิธีการจัดดอกไม้สด

การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด
1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที – 2 ชั่วโมง
2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว

เตรียมการจัดดอกไม้
1.การแช่ Floral Foam ให้นำน้ำใส่ภาชนะปากกว้างปริมาณมากๆวางก้อน Floral Foam ลงบนน้ำให้น้ำค่อยๆซึมผ่านขึ้นมา ห้ามกดให้จมน้ำห้ามนำน้ำมาราดลงบนก้อน Floral Foam เด็ดขาด เพราะน้ำจะไปอุดตันช่องระบายอากาศ ทำให้น้ำซึมผ่านเขาไปข้างในได้ยาก การแช่ Floral Foam ควรแช่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ดูดซึมน้ำได้เต็มที่ และเพื่อให้เกลือที่ผสมอยู่ไหลออกมา หรือทางที่ดีควรแช่ค้างคืนไว้ก็ได้ เกลือที่ผสมอยู่ไหลออกมา หรือทางที่ดีควรแช่ค้างคืนไว้ก็ได้ ้เกลือที่ผสมอยู่ในก้อน Floral Foam จะมีลักษณะเป็นน้ำสีน้ำตาลแดง มีผลทำให้ก้านดอกไม้เน่าเร็วและทำให้น้ำที่แช่ Floral Foamมีกลิ่นเหม็นเร็วขึ้น
2.การบรรจุ Floral Foam ลงในภาชนะ ถ้าเป็นภาชนะประเภทตะกร้าควรมีมีการรองรับน้ำให้เรียบร้อย แต่ไม่ว่าภาชนะจะเป็นตะกร้าหรือแจกันก็ตาม จะต้องเปิดช่องไว้สำหรับเติมน้ำ และจะต้องบรรจุให้สูงกว่าปากภาชนะประมาณ 2-3 เซนติเมตร หรือถ้าต้องการปักดอกไม้ปริมาณมากๆ ให้บรรจุให้สูงกว่าที่กำหนดก็ได้ นอกจากนั้นควรปากเหลี่ยม Floral Foamบริเวณปากภาชนะออก เพื่อเปิดพื้นที่ในการปักให้มากขึ้น และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการปิดฐานของการจัดได้ง่ายขึ้น การบรรจุ Floral Foam ถ้าต้องการให้มีความปลอดภัยต่อการแตกกระจายในขณะจัด และปลอดภัยต่อการเคลื่อนย้าย ควรหุ้มด้วยลวดตาข่ายให้แน่นหนา เมื่อบรรจุเสร็จเรียบร้อย ควรเปิดน้ำใส่ให้เต็มและเทน้ำทิ้ง เพื่อเป็นการล้างเกลือและเศษของ Floral Foam เติมน้ำลงไปใหม่ เป็นอันพร้อมที่จะจัดดอกไม้ได้
3.การตัดก้านดอกไม้ ต้องตัดก้านด้วยมีดคมๆให้เฉียงมากๆ โดยใช้มือซ้ายจับก้านหงายขึ้น มือขวาจบมีด หัวแม่มือขวาจะเป็นตัวประคองก้านดอกไม้ไว้ตลอดเวลา การตัดก้านด้วยมีด จะทำให้ก้านดอกไม้ไม่ช้ำ สามารถดูดน้ำได้เต็มที่ และนอกจากนี้ยังสามารถบังคับองศาของการตัดได้อย่างที่เราต้องการ การตัดก้านให้เฉียงมากๆ จะมีผลต่อการดูดน้ำของดอกไม้และยังสามารถทำให้การปักดอกไม้มีความมั่นคง และนอกจากนี้ยังทำให้ Floral Foam แตกได้ยาก การตัดก้านดอกไม้ และเวลาปักจะต้องหันหน้าของดอกไม้หันหน้าขึ้นไปรับแสงอาทิตย์ การทำลักษณะนี้จะทำให้สภาพการปักดอกไม้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด
หลักการจัดดอกไม้
สิ่งที่ต้องเตรียม
1. ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มีหลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม
2. ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่นไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็นแพ กระจก แป้นไม้
3. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
4. เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟลอร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30
5. ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ
6. เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น

หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ
2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ
3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน

สิ่งควรคำนึงในการจัด ดอกไม้
1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 – 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรง     เตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 – 2 เท่าของความกว้างของแจกัน
2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง
3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ
4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา
5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน
6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล 
ที่มา: learn.wattano.ac.th  และ ที่มา: trueplookpanya.com
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก - MThai และ Google Search

ไม่มีความคิดเห็น: